ปัจจุบัน หลายๆ คนมีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิสั้นกันมากขึ้น ด้วยเราอยู่ในยุคดิจิตอลที่ทุกอย่างนั้นรวดเร็วไปหมด สามารถทำทุกอย่างได้ทันทีผ่านโซเชียลมีเดีย แทบไม่ต้องใช้เวลารอ คอนเทนต์ก็สั้นเพียงแค่ไม่กี่นาที แถมยังมีสิ่งเร้ารบกวน (Interrupt) เยอะ จนเมื่อจะตั้งสมาธิ หรือโฟกัสกับอะไรบางอย่าง ทั้งโฆษณา เกม สื่อต่างๆ ก็ล่อตา ล่อใจให้สูญเสียสมาธิอยู่เรื่อย โดยเฉพาะกับวัยเด็ก วัยแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาสมองที่เมื่อกลายเป็นกลุ่มสมาธิสั้นแล้ว ก็สร้างความกังวลใจให้กลับเหล่าผู้ปกครองไม่น้อย ทำให้ต้องพยายามเร่งมองหาวิธี แนวทางการรักษา ก่อนจะสายเกินแก้
การกินน้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นหนึ่งในแนวทางการรักษาที่ว่ากันว่า ช่วยแก้ปัญสมาธิสั้นได้ และเรามักจะเห็นโฆษณาถึงผลลัพธ์ของน้ำมันปลาเต็มไปหมด ว่าดีต่อร่างกายและสมองของเด็กๆ ที่อยู่ในช่วงพัฒนา แต่ผลลัพธ์นี้จริงไหม? ผู้ปกครองควรเลือกน้ำมันปลาเป็นอาหารเสริมให้แก่เด็กๆ หรือคนที่อยากโฟกัสได้ดีมากขึ้นควรจะกินน้ำมันปลาหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบ! พาไปเจาะลึกส่วนผสมและประโยชน์ของน้ำมันปลา พร้อมการเลือกกินน้ำมันปลาให้ปลอดภัยดีต่อร่างกายกัน
กินน้ำมันปลาช่วยแก้ปัญหาสมาธิสั้นจริงไหม
น้ำมันปลา (Fish Oil) เป็นสารที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึก โดยสกัดน้ำมันจากเนื้อ หนัง หัว และหางปลา โดยน้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมกา 3 จำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้เป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่ กรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ซึ่งมีบทบาทหลักในการพัฒนาสมองและการทำงานของระบบประสาท เพราะเป็นไขมันพื้นฐานที่พบได้ในเซลล์สมองมากถึง 40% อีกทั้งยังมีงานวิจัยพบว่า การกินน้ำมันปลามีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้นในผู้มีภาวะถดถอยทางสมอง หรือคนที่มีสมาธิสั้น โดยสามารถช่วยให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้นได้ หากอยู่ในช่วงอาการเริ่มต้น หรืออยู่ในช่วงวัยเด็ก 7-12 ปี
เลือกกินน้ำมันปลาอย่างไร ให้ดีต่อร่างกาย ลดอาการสมาธิสั้น
น้ำมันปลาเป็นแหล่งรวมกรดไขมันโอเมกา 3 ชั้นดีอย่าง EPA และ DHA ที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาสมองและการทำงานของระบบประสาท ช่วยให้อาการสมาธิสั้นในวัยเด็กดีขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายโดยรวม ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ด้วย แต่การที่จะได้รับผลประโยชน์จากน้ำมันปลาได้สูงสุดนั้น การเลือกน้ำมันปลาที่มีคุณภาพและวิธีการกินเป็นอีกปัจจัยสำคัญ ลองมาดูวิธีการเลือกกินน้ำมันปลากัน
มีแหล่งโอเมกา 3 ที่ครบถ้วน
น้ำมันปลาควรประกอบด้วยโอเมกา 3 ครบทั้ง EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ เพื่อให้มั่นใจว่า ร่างกายได้รับกรดไขมันที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอ และช่วยเสริมประโยชน์ในด้านการพัฒนาสมอง ลดอาการสมาธิสั้น ทั้งนี้ควรเลือกกินในปริมาณที่เหมาะสมด้วย
น้ำมันปลาบริสุทธิ์มากกว่าน้ำมันส่วนเกิน
ข้อสำคัญที่ควรรู้ คือ ภายในแคปซูลน้ำมันปลาที่เราเห็น นอกจากมีกรดไขมันจำเป็นบรรจุอยู่แล้ว ยังมี ‘น้ำมันส่วนเกิน’ ผสมอยู่ด้วย จึงควรเลือกน้ำมันปลาบริสุทธิ์ที่มีปริมาณน้ำมันส่วนเกินน้อย เพราะตัวน้ำมันส่วนเกินอาจไปรบกวนการดูดซึมสารอาหารสำคัญ DHA และ EPA ของร่างกายได้ และทำให้เราได้รับประโยชน์จากน้ำมันปลาน้อยลงนั่นเอง
แหล่งที่มาของปลาที่ใช้ทำน้ำมันปลา
แหล่งที่มาของปลาที่ทำน้ำมันปลาควรได้รับการรับรองจาก Friend of the Sea องค์กรที่เป็นมาตรฐานในการรับรองด้านความยั่งยืนของการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาป่น และน้ำมันปลาโอเมกา 3 เพื่อจะช่วยดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเล นอกจากนี้ หากผสมน้ำมันปลากับเมล็ดเซียสีขาวที่อุดมไปด้วย ALA หรือกรดไขมันจากพืช ก็จะยิ่งทำให้น้ำมันปลา มีประโยชน์ต่อร่างกายและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดต่อสุขภาพ
ควรกินน้ำมันปลาปริมาณเท่าไร
ปัจจุบันยังไม่มีการระบุปริมาณ DHA และ EPA อย่างชัดเจนว่าร่างกายควรได้รับต่อวันในปริมาณเท่าไร แต่องค์กรด้านสุขภาพส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่า ในกลุ่มทั่วๆ ไป หรือวัยเด็กที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ ควรเลือกกินน้ำมันปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ควรได้รับ DHA และ EPA ประมาณ 250-500 มิลลิกรัม/วัน ในส่วนของกรดไขมัน ที่ผู้ชายควรได้รับต่อวันจะอยู่ที่ 1,600 มิลลิกรัม/วัน และผู้หญิงอยู่ที่ 1,100 มิลลิกรัม/วัน
และแม้ยังไม่มีการระบุปริมาณ DHA และ EPA ไว้ชัดเจน แต่การกินน้ำมันปลานั้นไม่ควรกินเกิน 3 มิลลิกรัม/วัน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เป็นอันตรายได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเลือกกินทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
น้ำมันปลาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาการสมาธิสั้นได้ หากอาการอยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็ก เพราะในน้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมัน EPA (Eicosapentaenoic Acid) และ DHA (Docosahexaenoic Acid) ซึ่งมีบทบาทหลักในการพัฒนาสมองและการทำงานของระบบประสาท ผู้ปกครองที่กำลังมองหาแนวทางการรักษาอาการสมาธิสั้น หรือมองหาอาหารเสริมที่ช่วยพัฒนาสมองของเด็กๆ น้ำมันปลาจึงถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน อย่างไรก็ตามในการน้ำมันปลา ให้มั่นใจว่าได้รับประโยชน์ครบถ้วน ดีต่อร่างกายจริงๆ ก็ควรเลือกกินน้ำมันปลาที่มีคุณภาพ อ่านฉลากอย่างละเอียดรอบคอบ และกินในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือปัญหาสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินน้ำมันปลาทุกๆ ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567). น้ำมันปลา กับข้อควรระวัง..!!. สืบค้น 6 ธันวาคม 2567, จาก https://www.dcat.in.th/sports-blog/fish-oil-and-precaut19012021-0123
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2553). เรื่องปลา….ปลา… สืบค้น 6 ธันวาคม 2567, จาก https://www.dcat.in.th/sports-blog/fish-oil-and-precaut19012021-0123
MacroPhar. (2566). เช็กอาการ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน?. สืบค้น 6 ธันวาคม 2567, จาก https://macrophar.com/adhd-disorder/#:~:text=มีงานวิจัยที่ให้ข้อมูล,เป็นโรคหัวใจ
Nutrilite Thailand. (2567). น้ำมันปลาช่วยอะไร กินตอนไหนให้สุขภาพดีรอบด้าน สูตรลับที่คุณควรรู้!. สืบค้น 6 ธันวาคม 2567, จาก https://nutrilite.co.th/th/article/fish-oil