ปัญหาท้องลายในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับสาวๆ อยู่แล้ว ส่วนใครจะมีลายที่มองเห็นมากหรือน้อยกว่ากันนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพผิวและการดูแล แต่ภายหลังการคลอด ปัญหาหน้าท้องแตกลายที่ยังคงอยู่จะกลายเป็นความกังวลใจเรื่องสวยๆ งามๆ ที่สุดท้ายแล้ว คุณแม่ก็ต้องหาทางรับมือและพยายามทำให้ลวดลายเหล่านั้นถูกกำจัดออกไปให้ได้มากที่สุด ซึ่งเราก็มี 3 วิธีแก้ท้องลายหลังคลอดมาฝาก ทำอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย
1.กินวิตามินเสริมจำพวกคอลลาเจน
หากหน้าท้องของคุณแม่หลังคลอดเกิดรอยแตกลายขึ้น ก็ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเป็นส่วนประกอบอยู่เป็นประจำหรือวิตามินแบบเป็นเป็นเม็ดเสริมเพิ่มเติมไปได้ เพราะสารอาหารเหล่านี้ส่วนช่วยในการลดรอยแตกลาย โดยเน้นเป็นอาหารที่มีคอลลาเจนเป็นส่วนผสม ซึ่งมีคุณสมบัติซ่อมแซมและเสริมสร้างคอลาเจนให้กับร่างกายทำให้ลายที่เกิดขึ้นบนหน้าท้องของคุณแม่หลังคลอดดูจางลงและหายไปในที่สุด นอกจากนี้การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีมาทาบริเวณผิวที่แตกลาย พร้อมนวดเบาๆ ก็สามารถช่วยลดเลือนรอยแตกได้ในระยะเวลาไม่นาน
2.หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
เนื่องจากน้ำที่มีอุณหภูมิกว่าปกติจะส่งผลให้ผิวแตกและแห้ง จนกลายเป็นขุยได้ อีกทั้งยังทำให้ผิวขาดความชุ่มชื่นมากขึ้นไปกว่าเดิม ยิ่งโดยเฉพาะกับคุณแม่หลังคลอดที่มักจะต้องเจอกับรอยแตกลายบนหน้าท้อง หากผิวบริเวณนั้นสัมผัสกับน้ำอุ่นบ่อยๆ ก็จะยิ่งให้เกิดรอยแตกมากขึ้นไปกว่าเดิมได้อีก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เปลี่ยนมาชำระร่างกายด้วยสะอาดในอุณหภูมิห้องก็เพียงพอ เท่านี้ก็จะทำให้รอยแตกลายบนหน้าท้องจางลงไปได้แล้ว
3.ดื่มน้ำให้มากขึ้น
หลังการตั้งครรภ์จนเกิดเป็นรอยแตกลายงาที่หน้าท้องนั้นต้องระมัดระวังเรื่องสภาพผิวไม่ปล่อยให้แห้งแตกมากเกินไป ตัวช่วยง่ายๆ คือการดื่มน้ำ ซึ่งจะส่งผลดีต่อผิวพรรณของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิว ทำให้ผิวดูสุขภาพดีไม่แห้งแตกเป็นขุยได้ ดังนั้นหากหน้าท้องของคุณแม่มีรอยแตกหลังคลอดแล้ว ควรดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้นกว่าเดิมก็จะช่วยลดรอยแตกลายได้ นอกจากนี้อาจเสริมด้วยน้ำผักและผลไม้ที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งจะได้ทั้งความชุ่มชื่นและวิตามินที่มีประโยชน์ไปในตัว
อย่างไรก็ตาม การดูแลผิวหลังตั้งครรภ์ คุณแม่ที่ให้นมลูกอยู่ควรพิจารณาการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยาที่ใช้ทาผิวให้ดีว่าจะมีผลกระทบต่อลูกน้อยด้วยหรือไม่ เพราะสารบางชนิดที่ซึมเข้าสู่ผิวหนัง อาจไปสะสมรวมอยู่ในน้ำนม ส่งผ่านไปยังลูกน้อยจนกลายเป็นปัญหากระทบต่อพัฒนาการตามมาได้ค่ะ