วลีที่ว่า “งานหนัก ไม่เคย ทำร้ายใคร” อาจใช้ไม่ได้ กับกลุ่มคนที่ทำงานในอาชีพเหล่านี้ เพราะไม่ว่า งานจะหนัก หรืองานเบาแค่ไหน พวกเขาล้วนเสี่ยงเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี อันมีผลมาจากทำงานทั้งสิ้น และวันนี้เราพาไปหาคำตอบว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี คือ และอาชีพที่สุ่มเสี่ยงเป็นโรคนี้ มีอะไรบ้าง ?
โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี คือ?
เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มคนทำงานซึ่งมีโอกาสสัมผัสวัสดุและสารเคมีที่มีผลต่อผิวหนัง ทั้งแบบไม่ตั้งใจ หรือตั้งใจ โดยผู้เป็นโรคนี้จะมีอาการระคายเคือง หรือเป็นภูมิแพ้ที่ผิวหนัง ที่สำคัญ ต่อให้รับการดูแลหรือรักษาอย่างดีแค่ไหน แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อย่างการสวมเครื่องป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงเข้าไปในสัมผัสวัสดุและสารเคมีดังกล่าว ก็เสี่ยงเป็นโรคผิวหนังได้อยู่ตลอด
อาชีพที่เสี่ยงเป็นโรคผิวหนังจากสารเคมี
1. คนงานก่อสร้าง โดยเฉพาะผู้ทำหน้าผสมปูนซีเมนต์เป็นหลัก
2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยาง สีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง และดอกไม้พลาสติก
4. เกษตรกร หรือคนสวน ซึ่งต้องใช้ปุ๋ย หรือสารเคมีในการบำรุงต้นไม้ และกำจัดแมลงศัตรูพืช
วิธีการป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมีสวมอุปกรณ์ป้องกัน
ปกติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นไซต์งานก่อสร้าง หรือภายในโรงงาน ต่างมีข้อกำหนดถึงเครื่องแต่งกาย รวมถึงเครื่องป้องกัน หรืออุปกรณ์ที่ต้องสวมใส่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละแผนก อาทิ สวมถุงมือยางหรือที่ทำจากวัสดุพีวีซี สวมหน้ากากป้องกัน หรือใช้ผ้ากันเปื้อน ดังนั้น ขอให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ว่าอย่างเคร่งครัด
รีบทำความสะอาดร่างกาย
กรณีที่เผลอไปสัมผัสวัสดุและสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง ขอให้รีบทำความสะอาดร่างกายตรงบริเวณที่ไปสัมผัสโดนทันที เพื่อชำระล้างสารเคมีออกไป และยังรวมถึงการล้างมือก่อนไปทานข้าวช่วงพักเที่ยง หรือทำความสะอาดร่างกาย หลังหมดเวลาทำงาน
ไม่มีหน้าที่ หรือความจำเป็น ก็ไม่ควรเข้าไปในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
ท่องจำให้ขึ้นใจว่า เมื่อไม่ใช่พื้นที่ปฏิบัติงานของตน ก็ไม่ควรเข้าไปเด็ดขาด แต่หากมีความจำเป็น หรือต้องทำงานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อาทิ บริเวณที่มีการผสมปูนซีเมนต์ ฟอกเครื่องหนัง หรือฉีดยาฆ่าแมลง ขอให้หาอุปกรณ์ป้องกันมาสวมใส่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
หมั่นทาครีม
ครีมทาผิว ไม่ได้มีดีแค่สร้างความชุ่มชื้น หรือช่วยลดความแห้งตึงของผิวหนังเท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนเกราะป้องกันอีกแบบหนึ่ง นอกจากน้ำมันที่ผิวหนัง ซึ่งมักถูกชำระล้างออกไปโดยไม่รู้ตัวขณะทำงาน ฉะนั้น การทาครีมก่อนทำงาน หรือหลังทำงาน จะช่วยป้องกันสารระคายเคือง ทั้งช่วยให้ทำความสะอาดมือง่ายขึ้นอีกด้วย
หลีกเลี่ยงการสัมผัส สิ่งที่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
เมื่อรู้ตัวว่า ตนมีอาการระคายเคืองหรือแพ้จากการสัมผัสสิ่งใด ก็ขอให้พยายามหลีกเลี่ยง หรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ เพื่อให้มีโอกาสสัมผัสกับสารต่างๆ ให้น้อยที่สุด