หลายคนคงอาจเคยได้ยินชื่อโรคนี้ “ไบโพล่าร์” โรคที่คนเรามีอารมณ์แปรปรวนเป็นสองขั้ว คล้ายกับว่ามีสองบุคลิกอยู่ในตัวเอง ซึ่งโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งแท้จริงแล้วมันส่งผลกระทบมาจากความผิดปกติของสมอง เมื่อพบภาวะที่ทำให้เกิดความกดดันทางจิตใจ จะเป็นการกระตุ้นให้อาการที่แฝงอยู่แสดงออกมา
และหลายคนที่เป็นโรคนี้ก็อาจจะยังไม่ทราบตัวเอง ดังนั้นวันนี้ Gang Beauty จึงอยากชวนทุกคนมาลองเช็ค เพราะหากใครเป็นจะได้รีบเร่งปรึกษาจิตแพทย์และหาทางออกที่ดีที่สุด
1. พูดเร็ว
คนที่เป็นโรคไบโพล่ามักจะพูด และคิดเร็ว ทั้งนี้ Glenn Hirsch จิตแพทย์ที่ Child Study Center กล่าวว่า “ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าจะคิดหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั่นจะทำให้เขาเปลี่ยนหัวข้ออย่างรวดเร็ว ” นอกจากนี้ในมุมมองของคนทั่วไป ผู้ป่วยไบโพล่ามักจะพูดเร็วมาก ทำให้ยากที่จะพูดแทรกในระหว่างที่สนทนา
2. มั่นใจเกินไป
ผู้ป่วยบางคนอาจแสดงอาการที่ร้อนรนมากเกินไป หรือมีความมั่นใจในตัวเองสูง รวมถึงจะชอบโอ้อวด และรู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ใน The Journal of Research Psychology ยังระบุด้วยว่า คนที่เป็นโรคไบโพล่ามีแนวโน้มที่จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นสำหรับตัวเอง และแสดงความคาดหวังที่สูงขึ้นในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้
3. ต้องการนอนน้อยลง
ผู้ป่วยโรคไบโพล่าบางคนอาจรู้สึกต้องการนอนน้อยลง ทั้งนี้ Dr. Scott จิตแพทย์กล่าวว่า “ผู้ป่วยเหล่านี้จะรู้สึกว่าการนอนน้อยลงถือเป็นเรื่องปกติสำหรับพวกเขา แต่มีรายงานบอกว่าคนเหล่านี้จะไม่รู้สึกเหนื่อยในวันถัดมา” นอกจากนี้ในช่วงที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะซึมเศร้า มันเรื่องปกติที่พวกเขาจะมีอาการเหนื่อยล้ามาก
4. ฉุนเฉียวง่าย
ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในช่วงคลุ้มคลั่ง หรือเศร้า พวกเขามักจะมีความอดทนต่ำ และแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยรู้สึกรำคาญ หรือฉุนเฉียวได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะมีอารมณ์แปรปรวนโดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งกระตุ้น
5. ทำเรื่องที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
ในระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในช่วงคลุ้มคลั่ง พวกเขาจะมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเสพสารเสพติดเพิ่มขึ้น และใช้จ่ายเงินแบบฟุ่มเฟือย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยจะมีอาการดังกล่าวเพราะสมองส่วนที่เรียกว่า brain”s pleasure center ทำงานผิดปกติ ทำให้พวกเขาแสวงหากิจกรรมที่ทำให้ตัวเองพอใจมากขึ้น
6. ไม่มีสมาธิ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าร์มักจะมีจิตใจที่ว้าวุ่นเพราะขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับอารมณ์แปรปรวน ตัวอย่างพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน หรือไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ มีผลการทำงานที่แย่ลง ฯลฯ
7. ชอบเข้าสังคม
คนที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีแนวโน้มที่จะชอบเข้าสังคมมากเกินไป “ผู้ป่วยจะชอบอยู่รวมกับคนกลุ่มใหญ่ซึ่งอาจเป็นคนแปลกหน้าด้วยซ้ำ ” กล่าวโดย Karen Ritchie จิตแพทย์ นอกจากนี้เธอยังกล่าวเสริมด้วยว่า ” เมื่อเราพิจารณาว่าโรคกลัวการเข้าสังคมเป็นโรคชนิดหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่น่าขันเหมือนกันว่าการเป็นคนเฟรนลี่ หรือชอบเข้าสังคมนั้นก็ถูกจัดว่าเป็นโรคเช่นกัน ”
8. มีความต้องการทางเพศสูง
จากข้อมูลของ Everyday Health ได้มีการระบุว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าร์อาจพบว่าตัวเองมีแรงขับ หรือความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ หรือคิดแต่เรื่องเซ็กส์ตลอดเวลา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ หรือพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
9. หุนหันพลันแล่น
โรคไบโพล่าร์สามารถทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่น โดยอาจใช้จ่ายเงินมากกว่าปกติ ขโมยของตามร้านค้า ขาดความระวังในเรื่องเพศ ฯลฯ ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า สมองของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์จะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องการเป็นอย่างมากไว้สูงกว่าเป้าหมายในระยะยาว
สำหรับใครที่เช็คแล้วพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวอาจเป็นโรไบโพร่านี้ ก็ให้รีบไปปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วดีกว่า เพราะหากปล่อยไปเนิ่นนานอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตที่ไม่สามารถกลับมาแก้ไขอะไรได้ ดังนั้นแล้วอย่ากลัวการไปพบจิตแพทย์ เพราะการเป็นโรคมันน่ากลัวกว่าเยอะ